เมนู

แม้เทสนาญาณก็มี 2 คือ
1. ปวัตตนานะ (เทสนาญาณอันกำลังเป็นไป)
2. ปวัตตะ (เทสนาญาณอันเป็นไปแล้ว)
จริงอยู่ เทสนาญาณนั้น ชื่อว่า กำลังเป็นไป นับจำเดิมแต่โสดา-
ปัตติมรรคของพระอัญญาโกณฑัญญะ ในขณะแห่งผล เทสนาญาณ ชื่อว่า
เป็นไปแล้ว.
ในเทสนาญาณเหล่านั้น ปฏิเวธญาณเป็นโลกุตตระ เทสนา-
ญาณเป็นโลกิยะ.

ก็ญาณแม้ทั้งสองนั้น เป็นโอรสญาณ (ญาณที่เกิดขึ้นในพระอุระ)
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น ไม่ทั่วไปกับชนเหล่าอื่น.

วรรณนากำลัง 10 ของพระตถาคต


บัดนี้ เพื่อทรงแสดงกำลังแห่งพระตถาคตที่ทรงตั้งไว้ว่า เยหิ ทสหิ
พเลหิ สมนฺนาคโต ตถาคโต อาสภณฺฐานํ ปฏิชานาติ ยานิ อาทิโต
จ ทส ตถาคตสฺส ตถาคตพลานิ
ดังนี้ (แปลว่า พระตถาคตประกอบ
ด้วยกำลัง 10 เหล่าใด จึงทรงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ และกำลังเหล่าใด
ชื่อว่า กำลัง 10 ของพระตถาคต จำเดิมแต่ต้น) โดยพิสดาร จึงตรัสคำว่า
กตมานิ ทส อิธ ตถาคดต ฐานญฺจ ฐานโต เป็นอาทิ (แปลว่ากำลัง 10
ของพระตถาคต เป็นไฉน คือ พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบธรรมที่เป็น
ฐานะ โดยความเป็นฐานะ เป็นต้น)

วรรณนากำลังของพระตถาคตข้อที่ 1


บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ฐานญฺจ ฐานโต ได้แก่ ทรงทราบ
ธรรมอันเป็นเหตุ โดยความเป็นเหตุ. ก็ เหตุ ย่อมให้ผลตั้งขึ้นในที่นั้น คือ

ย่อมเกิดขึ้นด้วย ย่อมเป็นไปด้วย เพราะการเข้าไปอาศัย และความเป็นไปใน
กาลนั้น ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ฐานะ. อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ทราบซึ่งฐานะนั้นโดยความเป็นฐานะ และอฐานะโดยความเป็นอฐานะ คือ
ย่อมทรงทราบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ธรรมเหล่าใด ๆ เป็นเหตุ เป็น
ปัจจัยแก่ธรรมเหล่าใด ๆ เพราะอาศัยซึ่งธรรมนั้น ๆ อันเป็นฐานะ
และทรงทราบว่า ธรรมเหล่าใด ๆ มิใช่เหตุ มิใช่ปัจจัยของธรรม
เหล่าใด ๆ เพราะเข้าไปอาศัยซึ่งธรรมนั้น ๆ อันมิใช่ฐานะ
ดังนี้.
คำว่า ยมฺปิ (แปลว่า แม้ใด) ได้แก่ ด้วยญาณใด
คำว่า อิทมฺปิ ตถาคตสฺส (แปลว่า แม้ข้อนี้ ก็เป็นกำลังของ
พระตถาคต) อธิบายว่า ฐานาฐานญาณของพระตถาคตแม้นี้ ชื่อว่า เป็น
กำลังของพระตถาคต. บัณฑิตพึงทราบการประกอบในบททั้งปวงอย่างนี้.

วรรณนากำลังของพระตถาคตข้อที่ 2


คำว่า กมฺมสมาทานํ ได้แก่ กรรมอันเป็นกุศล และอกุศล อัน
ตั้งใจกระทำแล้ว . อีกอย่างหนึ่ง กรรมนั่นแหละ ชื่อว่า กรรมสมาทาน
คำว่า ฐานโส เหตุโส แปลว่า โดยฐานะ โดยเหตุ. ได้แก่ โดยปัจจัย
และโดยเหตุ ในคำเหล่านั้น คติ อุปธิ กาล และปโยคะ ชื่อว่า ฐานะของ
วิบาก. กรรม ชื่อว่า เหตุ.

วรรณนากำลังของพระตถาคตข้อที่ 3


คำว่า สพฺพตฺถคามินึ (แปลว่า ไปสู่ภูมิทั้งปวง) ได้แก่ ไปสู่คติ
ทั้งปวงและไปสู่อคติ. คำว่า ปฏิปทํ ได้แก่ ทาง (คือ มรรค). คำว่า
ยถาภิตํ ปชานาติ ได้แก่ ย่อมทรงทราบสภาวะการปฏิบัติ กล่าวคือเจตนา